ธงกฐิน ธงวัด

ธงกฐิน มี แบบเบสิค คือ มัจฉา จระเข้ ( ดั้งเดิม )
อาจเพิ่ม เต่า ตะขาบ เป็น 4 รูปหลัก สำหรับให้วัดแขวนเป็นสัญลักษณ์กฐิน
หากต้องการเพิ่มเติม มากกว่านี้ บางคน ถวายธงชาติ ธงธรรมจักร เพิ่มด้วย ในกองกฐิน
รวมไปถึง ธงกฐินเล็กๆที่ระลึก ไว้แจกแขกที่มาร่วมงาน ให้นำกลับบ้านได้
ความหมายโดยรวมในอดีต ของสัญลักษณ์รูปธงกฐิน เป็นตัวแทน ความโลภ ความโกรธ ความหลง และ สติ
1.ธงจระเข้ มีตำนานว่าเศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย
( สื่อแทนความโลภ ) ใช้ประดับ เป็นสัญลักษณ์ว่า วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว
2.ธงนางมัจฉา เป็นตัวแทนหญิงสาว งดงาม ( สื่อแทนความหลง )
ตามความเชื่อสมัยใหม่
สื่อว่าอานิสงส์จากการถวายผ้าไตร ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์จะเป็นผู้มีรูปกายงาม
3.ธงตะขาบ สัตว์มีพิษ ดุร้าย ตัวแทนความโกรธ ( สื่อแทนความโกรธ )
ใช้ประดับ เป็นสัญลักษณ์กฐินแบบธงจระเข้
เพื่อคนสมัยก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเข้ามาถามวัดว่า วัดนั้นมีเจ้าภาพกฐินหรือยัง
4.ธงเต่า หมายถึง สติ ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว ( สื่อแทนการมีสติ )
ทั้งนี้ ในแต่ละความเชื่ออาจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเพณี แต่ละท้องถิ่น และ
ปัจจุบันรูปแบบการใช้ธงกฐินต่างๆ ก็อาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ธงกฐิน มีทั้งผืนผ้าธรรมดา และแบบไวนิล ปัจจุบันมีการตกแต่งด้วยร้อยลูกปัดสวยๆเพิ่มเติม
ธงมัจฉาจระเข้ ร้อยลูกปัดทอง ยาว 1.3 เมตร คู่ละ 450 บาท
มัจฉาจระเข้เต่าตะขาบ ยาว 1.3 เมตร ตกแต่งลูกปัดสวยๆ
1 ชุด มี 4 ชิ้น ราคาชุดละ 850 บาท